เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
หมายถึง เทคโนโลยีที่ถูกนำมาใช้เพื่อการบันทึก จัดเก็บ ประมวลผล และค้นคืนสารสนเทศ
ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ
1.
ฮาร์ดแวร์ (Hardware) คือ
อุปกรณ์ ชิ้นส่วนต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ รวมถึงสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล ได้แก่
อุปกรณ์รับข้อมูล (Input Devices) หน่วยประมวลผลกลาง
(Central Processing Unit : CPU) หน่วยความจำหลัก
(Main Memory Unit) หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง
(Secondary Storage) และอุปกรณ์แสดงผล
(Output Devices)
2.
ซอฟท์แวร์ หมายถึง
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เป็นชุดคำสั่งที่ควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์
ซอฟต์แวร์สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
2.1 ซอฟท์แวร์ระบบ ( System
Software) เป็นซอฟท์แวร์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางเพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถติดต่อสั่งงานอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ได้ง่ายขึ้น
และทำหน้าที่ประสานงานกับซอฟท์แวร์ประยุกต์ทั้งระบบ ตัวอย่างของซอฟท์แวร์ระบบ
ได้แก่ Windows, Mac OS, Unix และ Linux เป็นต้น
2.2 ซอฟท์แวร์ประยุกต์ (Application Software) เป็นซอฟท์แวร์สำเร็จรูปที่เขียนขึ้นเพื่อประยุกต์ใช้งานในด้านต่าง
ๆ เช่น พิมพ์เอกสาร นำเสนองาน และคำนวณ หรือเพื่อใช้งานเฉพ าะด้าน ตัวอย่างได้แก่ Microsoft
Word, Adobe Photoshop และ Macromedia
Dreamweaver เป็นต้น
ซอฟท์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับการสืบค้นสารสนเทศที่สำคัญมี
2 โปรแกรม ได้แก่ โปรแกรมค้นดูเว็บ และโปรแกรมอ่านเอกสาร
2.2.1 โปรแกรมค้นดูเว็บ ( Web
Browser) เป็นซอฟท์แวร์ที่ช่วยในการอ่านเนื้อหาของเว็บเพจ
โดยทำหน้าที่แปลงค่ารหัสทางคอมพิวเตอร์ ให้เป็นภาพและเสียงตามที่ผู้สร้างเว็บไซต์กำหนด
ตัวอย่าง ได้แก่ Internet Explorer, Mosaic, Opera, Netscape Communicator และ Hot
Java เป็นต้น
2.2.2 โปรแกรมอ่านเอกสาร
เอกสารที่มีการเผยแพร่ในอินเทอร์เน็ตมีหลายรูปแบบ รูปแบบทั่วไปที่นิยมใช้ คือ เป็น HTML
, Microsoft Word และ PDF ผู้ใช้จะต้องดาวน์โหลดโปรแกรม Adobe
Acrobat Reader มาติดตั้งไว้ในเครื่อง
จึงจะสามารถเรียกดูแฟ้มข้อมูลในรูปแบบ PDF ได้
คอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ คือ
อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ (electrinic
device) ที่มนุษย์ใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการกับข้อมูลที่อาจเป็นได้
ทั้งตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ที่ใช้แทนความหมายในสิ่งต่าง ๆ
โดยคุณสมบัติที่สำคัญของคอมพิวเตอร์คือการที่สามารถกำหนดชุดคำสั่งล่วงหน้าหรือโปรแกรมได้
(programmable) นั่นคือคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้หลากหลายรูปแบบ
ขึ้นอยู่กับชุดคำสั่งที่เลือกมาใช้งาน
ทำให้สามารถนำคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างกว้างขวาง เช่น
ใช้ในการตรวจคลื่นความถี่ของหัวใจ การฝาก - ถอนเงินในธนาคาร
การตรวจสอบสภาพเครื่องยนต์ เป็นต้น ข้อดีของคอมพิวเตอร์ คือ
เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธภาพ มีความถูกต้อง
และมีความรวดเร็ว
อย่างไรก็ดี
ไม่ว่าจะเป็นงานชนิดใดก็ตาม เครื่องคอมพิวเตอร์จะมีวงจรการทำงานพื้นฐาน 4 อย่าง (IPOS cycle) คือ
รับข้อมูล (Input) เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการรับข้อมูลจากหน่วยรับข้อมูล
(input unit) เช่น
คีบอร์ด หรือ เมาส์
ประมวลผล (Processing) เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการประมวลผลกับข้อมูล
เพื่อแปลงให้อยู่ในรูปอื่นตามที่ต้องการ
แสดงผล (Output) เครื่องคอมพิวเตอร์จะให้ผลลัพธ์จากการประมวลผลออกมายังหน่วยแสดงผลลัพธ์
(output unit) เช่น
เครื่องพิมพ์ หรือจอภาพ
เก็บข้อมูล (Storage) เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการเก็บผลลัพธ์จากการประมวลผลไว้ในหน่วยเก็บข้อมูล
เพื่อให้สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ในอนาคต
แสดงขั้นตอนการทำงานพื้นฐานของคอมพิวเตอร์
ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
1. ด้านการศึกษา
- ช่วยนำเสนอข้อมูลได้หลากหลายรูปแบบ
- ช่วยรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ไว้ในแหล่งข้อมูลเดียวกัน
- ช่วยให้ผู้เรียนสามารถศึกษาหาความรู้ได้ด้วยตนเอง
-
ช่วยแลกเปลี่ยนและนำเสนอแนวความคิดของผู้เรียนและผู้อื่น
2. ด้านการสื่อสาร
- ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสาร
- เป็นสื่อกลางในรับและส่งข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง
- ช่วยกระจายข้อมูลจากแหล่งข้อมูลหนึ่งไปยังผู้ใช้ทุกคน
3. ด้านการบริหารประเทศ
- เป็นช่องทางการรับรู้ข้อมูลจากประชาชน
- เป็นช่องทางการนำเสนอข้อมูลไปสู่ประชาชน
- ส่งเสริมการแสดงออกซึ่งประชาธิปไตย
- เพิ่มทัศนคติที่เกี่ยวกับการบริหารประเทศด้านบวกให้แก่ประชาชน
4. ด้านสังคมศาสตร์
- ช่วยเก็บข้อมูลสถิติด้านสังคมศาสตร์
- ช่วยคำนวณแนวโน้มปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
- ช่วยนำเสนอข้อมูลในรูปแบบของกราฟ แผนภูมิ หรือภาพ 3 มิติ ทำให้สามารถเปรียบเทียบข้อมูล
ต่าง ๆ ได้ง่ายยิ่งขึ้น
5. ด้านวิศวกรรม
- ช่วยออกแบบและคำนวณโครงสร้างบ้านและอาคาร
- สร้างโมเดลจำลองก่อนการสร้างโมเดลจริง
- ควบคุมการทำงานด้านก่อสร้างที่มีความละเอียดอ่อน
- ช่วยประมวลผลและประเมินสถานการณ์ที่อาจเกิดปัญหาขึ้นในอนาคต
6. ด้านวิทยาศาสตร์
- ช่วยเก็บและประมวลผลข้อมูลในงานวิจัยและการทดลองต่าง
ๆ
- เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอุปกรณ์นั้น
- ช่วยทำงานวิจัยหรืองานทดลองที่มีความละเอียดและมีขนาดที่เล็ก
ๆ ได้
- สร้างแบบจำลองงานทดลองเพื่อลดความผิดพลาดจากการทดลองกับของจริง
7. ด้านการแพทย์
- ลดความผิดพลาดและเพิ่มความแม่นยำในการวินิจฉัยและรักษาโรค
- เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพ
- ช่วยลดเวลาในการักษาโรค
8. ด้านอุตสาหกรรม
- ช่วยควบคุมการผลิตชิ้นงานให้ได้ปริมาณและคุณภาพตามต้องการ
- ช่วยทำงานในพื้นที่เสี่ยงภัยหรืองานที่มนุษย์ไม่สามารถทำได้
- ช่วยลดปัญหาการขาดแคลนแรงงาน
- ช่วยคำนวณปริมาณวัตถุดิบ สินค้า และกำไร
9. ด้านธุรกิจ
- เป็นช่องทางในการนำเสนอสินค้า
- ช่วยตรวจสอบและสั่งซื้อสินค้าต่าง ๆ
- ขยายโอกาสทางธุรกิจให้แก่ผู้ที่มีเงินทุนต่ำ
- ช่วยคำนวณตัวเลขทางธุรกิจได้อย่างแม่นยำ
- เพิ่มความสะดวกในการซื้อและขายสินค้าจากทั่วโลก
10. ด้านธนาคาร
- ลดขั้นตอนในการดำเนินงาน
- ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้บริการธนาคาร ทำให้สามารถจัดการด้านการเงินได้ทุกที่ตลอดเวลา
- ช่วยเก็บข้อมูลลูกค้าไว้ในส่วนกลาง ทำให้สามารถตรวจสอบข้อมูลของลูกค้าได้จากทุกธนาคาร
11. ด้านสำนักงาน
- ใช้สร้างงานนำเสนอในรูปแบบที่น่าสนใจ
- ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการพิมพ์เอกสาร
- ช่วยเก็บข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจของผู้บริหาร
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
หมายถึง เทคโนโลยีที่ถูกนำมาใช้เพื่อการบันทึก จัดเก็บ ประมวลผล และค้นคืนสารสนเทศ
ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ
1.
ฮาร์ดแวร์ (Hardware) คือ
อุปกรณ์ ชิ้นส่วนต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ รวมถึงสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล ได้แก่
อุปกรณ์รับข้อมูล (Input Devices) หน่วยประมวลผลกลาง
(Central Processing Unit : CPU) หน่วยความจำหลัก
(Main Memory Unit) หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง
(Secondary Storage) และอุปกรณ์แสดงผล
(Output Devices)
2.
ซอฟท์แวร์ หมายถึง
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เป็นชุดคำสั่งที่ควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์
ซอฟต์แวร์สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
2.1 ซอฟท์แวร์ระบบ ( System
Software) เป็นซอฟท์แวร์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางเพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถติดต่อสั่งงานอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ได้ง่ายขึ้น
และทำหน้าที่ประสานงานกับซอฟท์แวร์ประยุกต์ทั้งระบบ ตัวอย่างของซอฟท์แวร์ระบบ
ได้แก่ Windows, Mac OS, Unix และ Linux เป็นต้น
2.2 ซอฟท์แวร์ประยุกต์ (Application Software) เป็นซอฟท์แวร์สำเร็จรูปที่เขียนขึ้นเพื่อประยุกต์ใช้งานในด้านต่าง
ๆ เช่น พิมพ์เอกสาร นำเสนองาน และคำนวณ หรือเพื่อใช้งานเฉพ าะด้าน ตัวอย่างได้แก่ Microsoft
Word, Adobe Photoshop และ Macromedia
Dreamweaver เป็นต้น
ซอฟท์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับการสืบค้นสารสนเทศที่สำคัญมี
2 โปรแกรม ได้แก่ โปรแกรมค้นดูเว็บ และโปรแกรมอ่านเอกสาร
2.2.1 โปรแกรมค้นดูเว็บ ( Web
Browser) เป็นซอฟท์แวร์ที่ช่วยในการอ่านเนื้อหาของเว็บเพจ
โดยทำหน้าที่แปลงค่ารหัสทางคอมพิวเตอร์ ให้เป็นภาพและเสียงตามที่ผู้สร้างเว็บไซต์กำหนด
ตัวอย่าง ได้แก่ Internet Explorer, Mosaic, Opera, Netscape Communicator และ Hot
Java เป็นต้น
2.2.2 โปรแกรมอ่านเอกสาร
เอกสารที่มีการเผยแพร่ในอินเทอร์เน็ตมีหลายรูปแบบ รูปแบบทั่วไปที่นิยมใช้ คือ เป็น HTML
, Microsoft Word และ PDF ผู้ใช้จะต้องดาวน์โหลดโปรแกรม Adobe
Acrobat Reader มาติดตั้งไว้ในเครื่อง
จึงจะสามารถเรียกดูแฟ้มข้อมูลในรูปแบบ PDF ได้
คอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ คือ
อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ (electrinic
device) ที่มนุษย์ใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการกับข้อมูลที่อาจเป็นได้
ทั้งตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ที่ใช้แทนความหมายในสิ่งต่าง ๆ
โดยคุณสมบัติที่สำคัญของคอมพิวเตอร์คือการที่สามารถกำหนดชุดคำสั่งล่วงหน้าหรือโปรแกรมได้
(programmable) นั่นคือคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้หลากหลายรูปแบบ
ขึ้นอยู่กับชุดคำสั่งที่เลือกมาใช้งาน
ทำให้สามารถนำคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างกว้างขวาง เช่น
ใช้ในการตรวจคลื่นความถี่ของหัวใจ การฝาก - ถอนเงินในธนาคาร
การตรวจสอบสภาพเครื่องยนต์ เป็นต้น ข้อดีของคอมพิวเตอร์ คือ
เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธภาพ มีความถูกต้อง
และมีความรวดเร็ว
อย่างไรก็ดี
ไม่ว่าจะเป็นงานชนิดใดก็ตาม เครื่องคอมพิวเตอร์จะมีวงจรการทำงานพื้นฐาน 4 อย่าง (IPOS cycle) คือ
รับข้อมูล (Input) เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการรับข้อมูลจากหน่วยรับข้อมูล
(input unit) เช่น
คีบอร์ด หรือ เมาส์
ประมวลผล (Processing) เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการประมวลผลกับข้อมูล
เพื่อแปลงให้อยู่ในรูปอื่นตามที่ต้องการ
แสดงผล (Output) เครื่องคอมพิวเตอร์จะให้ผลลัพธ์จากการประมวลผลออกมายังหน่วยแสดงผลลัพธ์
(output unit) เช่น
เครื่องพิมพ์ หรือจอภาพ
เก็บข้อมูล (Storage) เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการเก็บผลลัพธ์จากการประมวลผลไว้ในหน่วยเก็บข้อมูล
เพื่อให้สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ในอนาคต
แสดงขั้นตอนการทำงานพื้นฐานของคอมพิวเตอร์
ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
1. ด้านการศึกษา
- ช่วยนำเสนอข้อมูลได้หลากหลายรูปแบบ
- ช่วยรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ไว้ในแหล่งข้อมูลเดียวกัน
- ช่วยให้ผู้เรียนสามารถศึกษาหาความรู้ได้ด้วยตนเอง
-
ช่วยแลกเปลี่ยนและนำเสนอแนวความคิดของผู้เรียนและผู้อื่น
2. ด้านการสื่อสาร
- ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสาร
- เป็นสื่อกลางในรับและส่งข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง
- ช่วยกระจายข้อมูลจากแหล่งข้อมูลหนึ่งไปยังผู้ใช้ทุกคน
3. ด้านการบริหารประเทศ
- เป็นช่องทางการรับรู้ข้อมูลจากประชาชน
- เป็นช่องทางการนำเสนอข้อมูลไปสู่ประชาชน
- ส่งเสริมการแสดงออกซึ่งประชาธิปไตย
- เพิ่มทัศนคติที่เกี่ยวกับการบริหารประเทศด้านบวกให้แก่ประชาชน
4. ด้านสังคมศาสตร์
- ช่วยเก็บข้อมูลสถิติด้านสังคมศาสตร์
- ช่วยคำนวณแนวโน้มปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
- ช่วยนำเสนอข้อมูลในรูปแบบของกราฟ แผนภูมิ หรือภาพ 3 มิติ ทำให้สามารถเปรียบเทียบข้อมูล
ต่าง ๆ ได้ง่ายยิ่งขึ้น
5. ด้านวิศวกรรม
- ช่วยออกแบบและคำนวณโครงสร้างบ้านและอาคาร
- สร้างโมเดลจำลองก่อนการสร้างโมเดลจริง
- ควบคุมการทำงานด้านก่อสร้างที่มีความละเอียดอ่อน
- ช่วยประมวลผลและประเมินสถานการณ์ที่อาจเกิดปัญหาขึ้นในอนาคต
6. ด้านวิทยาศาสตร์
- ช่วยเก็บและประมวลผลข้อมูลในงานวิจัยและการทดลองต่าง
ๆ
- เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอุปกรณ์นั้น
- ช่วยทำงานวิจัยหรืองานทดลองที่มีความละเอียดและมีขนาดที่เล็ก
ๆ ได้
- สร้างแบบจำลองงานทดลองเพื่อลดความผิดพลาดจากการทดลองกับของจริง
7. ด้านการแพทย์
- ลดความผิดพลาดและเพิ่มความแม่นยำในการวินิจฉัยและรักษาโรค
- เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพ
- ช่วยลดเวลาในการักษาโรค
8. ด้านอุตสาหกรรม
- ช่วยควบคุมการผลิตชิ้นงานให้ได้ปริมาณและคุณภาพตามต้องการ
- ช่วยทำงานในพื้นที่เสี่ยงภัยหรืองานที่มนุษย์ไม่สามารถทำได้
- ช่วยลดปัญหาการขาดแคลนแรงงาน
- ช่วยคำนวณปริมาณวัตถุดิบ สินค้า และกำไร
9. ด้านธุรกิจ
- เป็นช่องทางในการนำเสนอสินค้า
- ช่วยตรวจสอบและสั่งซื้อสินค้าต่าง ๆ
- ขยายโอกาสทางธุรกิจให้แก่ผู้ที่มีเงินทุนต่ำ
- ช่วยคำนวณตัวเลขทางธุรกิจได้อย่างแม่นยำ
- เพิ่มความสะดวกในการซื้อและขายสินค้าจากทั่วโลก
10. ด้านธนาคาร
- ลดขั้นตอนในการดำเนินงาน
- ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้บริการธนาคาร ทำให้สามารถจัดการด้านการเงินได้ทุกที่ตลอดเวลา
- ช่วยเก็บข้อมูลลูกค้าไว้ในส่วนกลาง ทำให้สามารถตรวจสอบข้อมูลของลูกค้าได้จากทุกธนาคาร
11. ด้านสำนักงาน
- ใช้สร้างงานนำเสนอในรูปแบบที่น่าสนใจ
- ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการพิมพ์เอกสาร
- ช่วยเก็บข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจของผู้บริหาร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น